Publisher: | Salt |
Genres: | นิติศาสตร์ |
Authors: | ไมเคิล แซนเดล |
Pages: | 376 pages |
Binding: | Softcover |
ISBN13: | 9786169070764 |
Available: | 10 |
Translator: | สฤณี อาชวานันทกุล |
ในปัจจุบันที่กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกตั้งคำถาม ความขัดแย้งแบ่งแยกในสังคมไทยที่ไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย “ความยุติธรรม” ที่เรากล่าวอ้างและถกเถียงกันมาตลอด มักจบลงที่การตีความเพื่อเอาดีเข้าตัวและเอาชั่วใส่คนอื่น ความเสื่อมถอยทางศีลธรรมที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้จากมนุษย์พ่ายแพ้ต่อความโลภ แต่มาจากความสูญสิ้นศรัทธาต่อแนวคิดศีลธรรมกระแสหลักที่คับแคบและแบ่งโลกออกเป็นขาว-ดำ ซึ่งชนชั้นนำตั้งใจให้เกิดขึ้น ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และอาจมีความหวังมากกว่านั้น
เพื่อการฟื้นฟูความยุติธรรมและศรัทธาที่ประชาชนมีต่อความยุติธรรม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการตั้งคำถามว่าความยุติธรรมคืออะไร และความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ภายใต้การให้เหตุผลแบบใด ในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ หนังสือ “ความยุติธรรม” ซึ่งได้รับการตีพิมพ์มาแล้วถึง 3 ครั้ง ยังคงเป็นหนังสือ “ร่วมสมัย” ในสังคมไทยเรื่อยมา
ภายใต้ความเชื่อว่าเราควรแสดงความเห็นแย้งกันบนหลักการอย่างตรงไปตรงมา แทนที่จะถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาโดยซ่อนเจตนาไว้ ‘ไมเคิล แซนเดล’ นักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยได้ถ่ายทอดเนื้อหาวิชา “ความยุติธรรม” ที่เขาใช้ในการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดลงในหนังสือเล่มนี้ แถมยังอัพโหลดวิดิโอการเรียนการสอนทั้งหมดของเขาลงในเว็บไซต์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ฟรีด้วย และหลาย ๆ วิดิโอได้มีการใส่คำบรรยายไทยประกอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่ว่าจะเข้าถึงด้วยสื่อรูปแบบใด สิ่งที่คุณจะได้รับคือความเพิดเพลินในการใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเป็นแว่นขยาย ส่องประเด็นสาธารณะต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน การอุ้มบุญ การุณยฆาต การนำปรัชญาการเมืองมาประยุกต์ใช้กับประเด็นร่วมสมัย นอกจากจะเป็นการคืนชีวิตให้กับปรัชญาแล้ว การตั้งคำถามพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ภายใต้ประเด็นเหล่านี้อาจช่วยฟื้นศรัทธาให้ประชาชนเชื่อมั่นในความยุติธรรมอีกครั้งด้วย